อาชีพ ของ โทชิโกะ คิชิดะ

หลังจากการแสดงความสามารถด้านอักษรวิจิตรแก่เจ้าชายอาริซูงาวะ ทารูฮิโตะในปี 1877 คิชิดะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมในการเข้ารับราชการในพระตำหนักจักรพรรดินีเมจิ[4] คิชิดะได้ทำงานในพระตำหนักตำแหน่งผู้อนุบาลจักรพรรดินีญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตามเธอรู้สึกว่าพระตำหนักจักรพรรดินีนั้น "ห่างไกลจากโลกความเป็นจริง" และยังเป็น "สัญลักษณ์ของระบบอนุภรรยา ซึ่งเป็นการเหยียดหยามสตรี[2] คิชิดะจึงตัดสินใจเคลื่อนไหวในการปฏิรูปอย่างเต็มตัวและเริ่มปราศรัยทั่วประเทศญี่ปุ่น

คิชิดะได้ออกจากพระตำหนักในปี 1882 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางบรรยายรอบประเทศโดยได้รับการสนับสนุนโดยพรรคเสรีนิยม[4] นอกจากการบรรยายทั่วประเทศแล้ว เธอยังได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนในฐานะผู้ปราศรัยและได้ออกเดินทางร่วมกันไปยังถิ่นทุรกันดาล มอบความรู้และจัดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำงานของรัฐบาลเมจิ และเรียกร้องให้มีการมีส่วนร่วมและโอกาสในความเป็นพลเมืองที่มากยิ่งขึ้น[1] ความสำคัญของคิชิดะต่อการเคลื่อนไหวนี้ถูกกลายเป็นผลึกในเดือนเมษายน 1882 เมื่อเธอได้ทำการพูดสุนทรพจน์ในหัวข้อ "วิถีของสตรี" ที่พิธีเข้ารับตำแหน่งในจังหวัดโอซากะ

คิชิดะได้รับการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นสำหรับการพูดปราศรัยสาธารณะของเธอ หัวข้อการปราศรัยของเธอ อาทิ "รัฐบาลผู้มีอำนาจเหนือบุรุษ และบุรุษผู้มีอำนาจเหนือสตรี" (พฤษภาคม 1882), "สตรีทำไม่ได้หากแต่ผสมผสานความแข็งกระด้างและความอ่อนโยน" และ "อดทนในสิ่งที่ไม่ต้องอดทนและกังวลในสิ่งที่ไม่ต้องกังวล: สิ่งเหล่านี้มิใช่หน้าที่ของสตรี" สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของเธอในการทำให้สังคมรู้ถึงสถานะของสตรี[1] คิชิดะเรียกร้องให้สตรีต้องเข้ารับการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีและบุรุษ เธอเขียนว่า "ฉันหวังที่จะให้อนาคตมีการตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่าสิ่งหนึ่งที่พึงมีก่อนการแต่งงานคือการศึกษา"[4]

หลังจากการพูดปราศรัยของเธอในปี 1883 ในหัวข้อ "ลูกสาวในกล่อง" เธอถูกจับกุม สอบสวน และเปรียบเทียบปรับสำหรับการพูดปราศรัยการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีภายใต้กฎหมายญี่ปุ่นในขณะนั้น[5][6][7] การจับกุมของคิชิดะที่เมืองโอตสึ จังหวัดชิงะ เป็นการสิ้นสุดอาชีพนักพูดปราศรัยของเธอ แต่อย่างไรก็ตามแต่ยังคงทำงานในการเคลื่อนไหวสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง[1]

สุนทรพจน์เรื่อง "ลูกสาวในกล่อง"

สุนทรพจน์ในหัวข้อ "ลูกสาวในกล่อง" (ญี่ปุ่น: 箱入り娘; โรมาจิ: Hakoiri Musume; อังกฤษ: Daughters Kept in Boxes, Daugthers in Boxes) ได้วิจารณ์ระบบครอบครัวในประเทศญี่ปุ่นและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเด็กหญิงญี่ปุ่น สุนทรพจน์ได้กล่าวว่าระบบดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมที่คงอยู่มานานและผู้ปกครองหลายคนไม่เข้าใจถึงความอันตรายที่ลูกสาวของพวกเขาอาจได้รับโดยการปิดกั้นพวกเธอ คิชิดะยังกล่าวถึงผู้ปกครองชนชั้นกลางและสูงชาวญี่ปุ่นว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะจำกัดเสรีภาพลูกสาวของพวกเขา หากแต่ว่าถูกครอบงำในความจำเป็นที่จะต้องสอนค่านิยมบางอย่างเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นและสังคมในภาพรวม[7]

ในสุนทรพจน์ของเธอ คิชิดะพูดถึงสาม "กล่อง" ในครอบครัวญี่ปุ่น เธอไม่ได้ต้องการจะสื่อว่ากล่องเหล่านี้เป็นกล่องที่จำต้องได้จริง ๆ หากแต่เป็นการจำกัดทางจิตใจและความรู้สึก กล่องเหล่านี้เป็นตัวแทนของลูกสาวชาวญี่ปุ่นที่ถูกกักกันไว้ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง กล่องใบแรกสื่อถึงผู้ปกครองที่ซ่อนตัวลูกสาวของพวกเขาไว้ พวกเธอไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องและสิ่งใด ๆ ที่อยู่ในโลกภายนอกนั้นจะถูกปิดกั้นไว้ กล่องใบที่สองแสดงให้เห็นถึงการเชื่อฟังของเหล่าลูกสาว ในกล่องนี้ผู้ปกครองจะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อลูกสาวของพวกเขาและมองว่าพวกเธอควรจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ปกครองอย่างไม่มีข้อกังขา ขณะที่กล่องใบสุดท้ายที่ถูกกล่าวถึงโดยคิชิดะคือการศึกษาของลูกสาวที่พวกเธอได้ร่ำเรียนแต่ความรู้ที่ไม่ทันสมัย ซึ่งคิชิดะให้ความสำคัญต่อกล่องใบนี้มากที่สุด[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทชิโกะ คิชิดะ http://www.womeninworldhistory.com/WR-04.html http://core.ecu.edu/hist/tuckerjo/taishowomen.htm http://uli.nli.org.il/F/?func=direct&doc_number=00... http://kotobank.jp/word/%E5%B2%B8%E7%94%B0%E4%BF%8... https://nla.gov.au/anbd.aut-an35748889 https://trove.nla.gov.au/people/1069708 https://documents.alexanderstreet.com/d/1001325826 https://www.encyclopedia.com/women/encyclopedias-a... https://scholarworks.smith.edu/cgi/viewcontent.cgi... https://id.loc.gov/authorities/names/n85162808